
การใส่ขาเทียม คือ ก้าวแรกที่สำคัญสำหรับผู้ที่สูญเสียขาไป ซึ่งต้องอาศัยความพร้อมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เพราะ หลังจากการสูญเสียอวัยะไป ย่อมส่งผลต่อสภาพจิตใจของผู้ที่สูญเสียด้วย ดังนั้นการเตรียมพร้อมที่ดีจะช่วยให้การกลับมาเดินอีกครั้งเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น..
การเตรียมร่างกายก่อนใส่ขาเทียม
1. ดูแลตอขาหลังการผ่าตัด
- หลีกเลี่ยงการนั่งงอข้อเข่าเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันข้อยึดติด
- เน้นการรักษาแผลและควบคุมอาการบวมของตอขา
- ออกกำลังกายทั้งแขนและขาที่เหลือรวมถึงส่วนอื่น ๆ ของร่างกายเพื่อป้องกันการสูญเสียความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีดูแลตอขาได้ที่ Link: https://www.cepo.life/post/prepareforprosthetics
2. กายภาพบำบัดเพื่อเพิ่มความแข็งแรง
กายภาพบำบัดผู้ป่วยขาเทียม คือ วิธีในการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย รวมทั้งการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นจากการผ่าตัดของผู้ป่วย เช่น ข้อสะโพกหรือข้อเข่าติดขัด
ประโยชน์ของการทำกายภาพบำบัด
เพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อที่จำเป็นในการควบคุมการทำงานของขาเทียม
เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นภายหลังจากการผ่าตัด เช่น ข้อสะโพก และ/หรือข้อเข่าติดในท่างอ
เพื่อเป็นการสร้างความคุ้นเคยให้กับผู้ป่วยในการนำขาเทียมที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างปลอดภัย
เพื่อให้ผู้ป่วยมีวิธีในการเดินที่ถูกต้อง ซึ่งมีความใกล้เคียงกับการเดินปกติทั่วไป
การเตรียมสภาพจิตใจก่อนใส่ขาเทียม
ก่อนการใส่ขาเทียมต้องมีความพร้อมทางด้านจิตใจ เนื่องจากการสูญเสียอวัยวะไปนั้น อาจทำให้บางคนสูญเสียความมั่นใจและบั่นทอนคุณค่าของตนเองลง จากการศึกษาพบว่าปัญหาสุขภาพจิตของผู้ที่สูญเสียขาในไนจีเรียมีภาวะวิตกกังวลร้อยละ 64.3 และมีภาวะซึมเศร้าร้อยละ 59.55 การศึกษาปัญหาสุขภาพจิตของผู้ที่สูญเสียขาในสหรัฐอเมริกาพบว่ามีภาวะซึมเศร้าร้อยละ 28.7 (ณัฐวดี มณีพรหม วท.บ.ม พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย พบ. วท.ม.ม . “ภาวะความสุขและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของ ผู้พิการเนื่องจากการตัดขาที่มารับบริการ ที่ศูนย์กายอุปกรณ์ในประเทศไทย,” 2554)
“How you choose to deal with your amputation will help determine your quality of life. It is up to you!”
Quote from: “Leg Amputation and Your Recovery” of St. Joseph’s Healthcare Hamilton page 29.
อ้างอิง
Nd Natthawadee Maneeprom Et Al. J Psychiatr Assoc Thailand Vol. 56 No. 2 April - June 2011 137 ภาวะความสุขและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของ ผู้พิการเนื่องจากการตัดขาที่มารับบริการ ที่ศูนย์กายอุปกรณ์ในประเทศไทย, 137–148. https://www.psychiatry.or.th/JOURNAL/56-2/05-Natthawadee.pdf
St. Joseph’s Healthcare Hamilton. (n.d.). Leg Amputation and Your Recovery, 29. https://www.stjoes.ca/patients-visitors/patient-education/k-o/PD%207688%20Leg%20amputation%20and%20your%20recovery%20January%202012.pdf
Comments