top of page

BLOG POST

Search

ขาเทียมมีกี่ประเภท ส่วนประกอบของขาเทียมมีอะไรบ้าง แล้วขาเทียมที่ดีเป็นอย่างไร?

Updated: Oct 18, 2021



ขาเทียมคือ อุปกรณ์เทียมชนิดหนึ่งใช้ในผู้ป่วยที่สูญเสียขา เพื่อทดแทนส่วนที่ขาดหายไป และช่วยในการเคลื่อนไหว เช่นการยืนเดินในชีวิตประจำวันเป็นต้น ขาเทียมแบ่งออกได้ปลายประเภทตามระดับของการตัดขา ดังนี้


1. ขาเทียมระดับข้อเท้า คือขาเทียมที่ใช้ในผู้ป่วยที่ตัดขาระดับข้อเท้าลงไป

2. ขาเทียมระดับใต้เข่าคือขาเทียมที่ใช้ในผู้ป่วยที่ตัดขาระดับใต้เข่าลงไป

3. ขาเทียมระดับเข่า คือขาเทียมที่ใช้ในผู้ป่วยที่ตัดขาผ่านหัวเข่า

4. ขาเทียมระดับเหนือเข่า คือขาเทียมที่ใช้ในผู้ป่วยที่ตัดขา สูงกว่าหัวเข่าขึ้นไป

5. ขาเทียมระดับสะโพก คือขาเทียมที่ใช้ในผู้ป่วยที่ตัดขาผ่านข้อสะโพก หรือสูงกว่าข้อสะโพกขึ้นไป



โดยส่วนประกอบของขาเทียมแต่ละระดับจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ขาดหายไปของผู้ป่วย เช่นในกรณีที่เป็นขาเทียมระดับใต้เข่า ส่วนประกอบที่สำคัญหลักๆได้แก่ เบ้าขาเทียม ระบบยึดระหว่างตอขากับขาเทียม หน้าแข้งเทียม และเท้าเทียม ในกรณีที่ขาเทียมระดับเหนือเข่าจะมีข้อเข่าเทียมเพิ่มขึ้นมาเพื่อทำงานแทนข้อเข่าที่ถูกตัดไปของผู้ป่วย หรือกรณีที่เป็นขาเทียมระดับข้อสะโพกจะมีข้อสะโพกเทียมเพิ่มขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ทดแทนสะโพกที่ถูกตัดไปเป็นต้น



ส่วนประกอบหลักๆของขาเทียมมีดังต่อไปนี้


1. เบ้าอ่อน หรือวัสดุที่สัมผัสกับตอขา ใช้สวมใส่ระหว่างตอขาและเบ้าขาเทียม ทำหน้าที่ปกป้องตอขา ช่วยดูดซับแรงกระแทก และป้องกันการเกิดแผลระหว่างการใส่ขาเทียม วัสดุที่ใช้เป็นเบ้าอ่อนได้แก่ โฟม ซิลิโคนหรือเจล ผ้า เป็นต้น คุณสมบัติของเบ้าอ่อนแต่ละชนิดจะแตกต่างกันออกไป โดยปกติแล้วนักกายอุปกรณ์จะทำการตรวจประเมินตอขาเพื่อเลือกชนิดเบ้าอ่อนที่เหมาะสมให้แก่ผู้ป่วยแต่ละราย


เบ้าขาเทียม

2. เบ้าขาเทียม จะเป็นโครงเบ้าแข็งแรงทำหน้าที่ในการเป็นกรอบสำหรับตอขา ช่วยรับน้ำหนักและกระจายแรงกดที่ตอขา

โดยทำการวัดและผลิตเฉพาะคนไข้แต่ละราย ตามหลักการทางกายอุปกรณ์ โดยนักกายอุปกรณ์ผู้ความรู้ความเชี่ยวชาญ วัสดุที่ใช้ในการทำเบ้าขาเทียมก็มีหลายประเภทยกตัวอย่างเช่น พลาสติกแข็ง เรซิ่น และคาร์บอนไฟเบอร์ เป็นต้น


ขาเทียม


3. ระบบยึดระหว่างตอขากับขาเทียม เพื่อให้ใช้ขาเทียมได้อย่างสบายและเป็นธร