top of page

BLOG POST

Search

แขนเทียม นิ้วเทียม มีด้วยหรือ?

Updated: Oct 11, 2021


แขนเทียม, นิ้วเทียม

ในผู้ที่สูญเสียอวัยวะส่วนรยางค์บน เช่น แขนขาด มือขาด หรือแม้กระทั่งนิ้วขาด ผลที่ตามมาก็คือการสูญเสียฟังก์ชั่นการทำงานของอวัยวะที่ขาดหายไปนั้นด้วย ยกตัวอย่างเช่น เราใช้มือช่วยในการหยิบจับสิ่งของ หรือทำกิจวัตประจำวันอื่น ๆ ถ้าหากมือขาดไปจะส่งผลให้ฟังก์ชั่นการใช้งานมือในการหยิบจับสิ่งของ หรือทำกิจวัตต่าง ๆ หายไปด้วย


ดังนั้นอุปกรณ์เทียมสำหรับรยางค์บน ซึ่งได้แก่ แขนเทียม มือเทียม หรือนิ้วเทียม ถูกทำขึ้นเพื่อทดแทนส่วนที่หายไปของอวัยวะนั้น ๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อเติมเต็มส่วนที่ขาดหายไปของอวัยวะช่วยตอบโจทย์ในเรื่องความสวยงาม อีกทั้งในอุปกรณ์บางชนิดยังสามารถช่วยทดแทนหรือชดเชยฟังก์ชั่นการทำงานของอวัยวะที่ขาดหายไปได้ด้วย


 

เราสามารถแบ่งอุปกรณ์เทียมรยางค์บนตามระดับของการขาดหายไปของอวัยวะ ได้ดังนี้


1. นิ้วเทียม สำหรับผู้ที่สูญเสียนิ้วมือ หรือบางส่วนของข้อนิ้วมือ

2. มือเทียม สำหรับผู้ที่สูญเสียบางส่วนของมือ หรือมือตั้งแต่ระข้อมือลงมา

3. แขนเทียมระดับใต้ศอก สำหรับผู้ที่สูญเสียแขนระดับใต้ข้อศอกลงมา

4. แขนเทียมระดับศอกหรือระดับเหนือศอก สำหรับผู้ที่สูญเสียแขนผ่านข้อศอกและเหนือข้อศอกขึ้นไป

5. แขนเทียมระดับหัวไหล่ สำหรับผู้ที่สูญเสียแขนผ่านหัวไหล่ หรือระดับหัวไหล่ขึ้นไป


อุปกรณ์เทียมรยางค์บนหรือแขนเทียมแบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้งานได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้


1. แขนเทียมสำหรับใช้งาน: หมายถึงแขนเทียมที่มีส่วนประกอบที่สามารถปรับได้เพื่อทำงานทดแทนส่วนของมือหรือแขนที่หายไป เช่น มือเทียม หรือตะขอ ที่สามารถปรับขยับได้ ช่วยในการหยิบจับสิ่งของ ทำงานแทนมือที่หายไปได้เป็นต้นและในกลุ่มแขนเทียมสำหรับใช้งานได้ยังแบ่งย่อยออกมาได้อีกเป็นแขนเทียมใช้งานได้แบบใช้การขยับของร่างกายช่วยในการควบคุมมือเทียม และแขนเทียมแบบ Bionics ที่ใช้หลักการควบคุมมือเทียมโดยการส่งสัญญาณผ่านกล้ามเนื้อผ่านเซ็นเซอร์คล้ายๆแขนกลที่เราเห็นกันในหนัง


แขนเทียม

ตัวอย่างแขนเทียมระดับใต้ศอกแบบใช้งาน โดยใช้การขยับของร่างกายควบคุมมือเทียมหรือตะขอ



แขนเทียม

ตัวอย่างแขนเทียมระดับใต้ศอกแบบใช้งาน Bionics



2. แขนเทียมสำหรับสวยงาม : หมายถึงแขนเทียมทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทดแทนส่วนที่หายไป ในส่วนของมือหรือนิ้วไม่สามารถปรับขยับเพื่อช่วยหยิบจับได้เหมือนแขนเทียมสำหรับใช้งาน โดยพยายามเลียนแบบให้มีรูปร่างหน้าตาใกล้เคียงกับแขนอีกข้างที่เหลืออยู่ ทั้งขนาดและสีผิว หรือแม้กระทั่งสามารถทำลวดลายให้คล้ายกับตัวการ์ตูนที่เด็ก ๆ ชอบ ในปัจจุบันยังมีการทำอุปกรณ์เทียมเพื่อความสวยงามจากซิลิโคน ซึ่งรายละเอียดความสวยงามของอุปกรณ์ที่ได้จากซิลิโคนจะมีความเสมือนจริง หรือคล้ายคลึงกับสีผิวมากกว่า ที่เห็นบ่อย ๆ เช่น นิ้วเทียมซิลิโคน ถุงมือเทียมซิลิโคนเป็นต้น


แขนเทียม

ตัวอย่างถุงมือเทียม นิ้วเทียม และแขนเทียมเด็กระดับใต้ศอก ชนิดสวยงาม




แล้วแขนเทียมแบบไหนเหมาะกับใคร?


การประเมินว่าผู้ป่วยจะเหมาะกับการใช้แขนเทียมในลักษณะใด มีการประเมินในหลายๆส่วนร่วมกันเพื่อช่วยในการตัดสินใจ เช่น วัตถุประสงค์ความต้องการการใช้งานอุปกรณ์ของผู้ป่วย รูปร่างลักษณะตอแขน กำลังกล้ามเนื้อ โดยนักกายอุปกรณ์หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นคนประเมินและหารือร่วมกับผู้ป่วย เพื่อให้ได้อุปกรณ์ที่เหมาะสม ตอบโจทย์ที่สุดแก่ผู้ป่วย




 


ขอบคุณรูปภาพจาก

Pixabay

Ottobock

Hero arm by Open Bionics

Fillauer

186 views0 comments
bottom of page